ผู้เขียน หัวข้อ: รวมสถานการณ์น้ำท่วมจากข่าวสด  (อ่าน 3999 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Tommy

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,577
  • คะแนน: +3/-1
  • รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย
    • ทัวร์ออนไทยดอทคอม
รวมสถานการณ์น้ำท่วมจากข่าวสด
« เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 06:53:02 PM »
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7595 ข่าวสดรายวัน


พนังกั้นน้ำพัง ปทุมจมฉับพลัน

สิงห์บุรีอ่วมหนัก ประตูระบายรั่ว!



เขื่อนพัง - ประตูเขื่อนระบายน้ำบางโฉมศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ถูกกระแสน้ำซัดพังครืน ส่งผลให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนใน 3 หมู่บ้าน เมื่อวันที่ 14 ก.ย.

น้ำเหนือทะลักใกล้กรุงแล้ว "ปทุมธานี" ป่วนเขื่อนกั้นน้ำพัง น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนลาดริมน้ำจม ขนของหนีแทบไม่ทัน "อ่างทอง-กรุงเก่า-สุพรรณฯ" ยังวิกฤต ระดับน้ำเพิ่มหลายจุด ถนนหนทางขาด "ชัยนาท-สิงห์บุรี" พนังกั้นน้ำพัง น้ำซัดเข้าท่วมบ้านในชั่วพริบตา ขนของหนีกันอลหม่าน เตรียมอพยพชาวบ้านริมน้ำไปอยู่ในที่สูง "นครสวรรค์" น้ำก้อนใหญ่ซัดเข้าหมู่บ้าน กรมชลฯ ชี้หนักสุดในรอบ 5 ปี

น้ำทะลักท่วมเมืองปทุม

เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่กลางดึกวันที่ 13 ก.ย. สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในเขต จ.ปทุมธานี ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับฝนตกทั้งวัน ทำให้น้ำเอ่อล้นกระสอบทรายแนวคันกั้นน้ำ รอบตลาด สดศิริวัฒนา เขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ที่ทางเทศบาลได้นำกระสอบทรายมาตั้งเป็นแนวกั้นน้ำสูงกว่า 1.20 เมตร แต่น้ำเพิ่มสูงขึ้น เอ่อล้นข้ามกระสอบทราย ส่วนแนวกั้นน้ำบางจุดกระสอบทรายเลื่อนไหลออกมาเป็นแนวยาว จนน้ำไหลเข้าท่วมในตลาดสดศิริวัฒนา ไม่ถึง 5 นาที หมดทั้งตลาด ระดับน้ำสูงถึง 50 ซ.ม. ได้รับความเสียเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ร้านค้าต่างใช้อิฐบล็อกกั้นน้ำต่อกันขึ้นมาถึง 4 ก้อน แต่น้ำก็ไหลซึมเข้ามาตามท่อทำให้กั้นไม่ทัน

เขื่อนกั้นพัง-เสียหายหนัก

ชาวบ้านในตลาดเปิดเผยว่า ตอนแรกเห็นน้ำล้นแนวกั้นกระสอบทรายไหลเข้าตลาดเล็กน้อย จากนั้นเขื่อนกั้นเริ่มพังทลายจนแตก ทำให้น้ำหลากเข้ามาในตลาดอย่างรวดเร็ว จนหลายคนแตกตื่นรีบออกมาดู และพยายามช่วยกันกั้นน้ำ แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะน้ำทะลักเข้ามาเยอะมาก แต่ละคนต่างเอาตัวรอด หยิบข้าวของภายในร้านหนีขึ้นที่สูง และช่วยกันนำกระสอบทรายไปอุดน้ำ แต่ก็ต้านไว้ไม่อยู่ นอกจากนี้ บ้านเรือนประชาชน วัด โรงเรียน ในหลายพื้นที่ที่อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกน้ำทะลักแนวเขื่อนเข้าท่วมหลายจุด เจ้าหน้าที่และชาวบ้านต้องเร่งเสริมแนวกั้นเพิ่มอย่างอลหม่าน

ปทุมฯสั่งเสริมคันกั้นน้ำ

วันเดียวกัน นายชาญ พวงเพ็ชร์ นายก อบจ.ปทุมธานี พร้อมเจ้าหน้าที่กองช่างจาก อบจ.ปทุมธานี ออกสำรวจแนวคันดิน ป้องกันน้ำเอ่อล้นข้ามถนนบริเวณ ถ.ปทุมธานี-สามโคก ฝั่งพื้นที่ ต.บ้านงิ้ว, ต.บ้านปทุม, ต.เชียงรากน้อย, ต.เชียงรากใหญ่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี และนำรถแบ๊กโฮเร่งทำแนวคันกั้นน้ำแนวดินเสริมเพิ่มสูงกว่า 1 เมตร ริมถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดเส้นทางกว่า 10 กิโลเมตร ป้องกันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้าท่วมเมืองเศรษฐกิจ หมู่บ้าน ใน อ.คลองหลวง และนิคมอุตสาห กรรมนวนคร เนื่องจากเมื่อคืนที่ผ่านมาระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้มีระดับเพิ่มสูงขึ้นอีก 15 เซนติเมตร กระทั่งขณะนี้ระดับน้ำยังไม่ลดลง ระดับแนวคันดินขณะนี้สูงกว่าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพียง 30-50 เซนติเมตร ส่งผลทำให้น้ำเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน วัด โรงเรียน ตลาด สด ร้านค้าหลายแห่งปิดกิจการขาดรายได้ หลายคนเริ่มประสบปัญหากับโรคน้ำกัดเท้า, เท้าเปื่อย หลังต้องลุยน้ำท่วมมานานกว่า 2 อาทิตย์แล้ว

ตลาดสามโคกจม-น้ำทะลัก

ที่ตลาดสามโคก ขณะนี้ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เข้าเอ่อท่วมตลาดระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร เจ้าหน้าที่มาทำทางเดินสะพานไม้ให้กับ ตลาดสามโคก แต่ระดับน้ำก็จะท่วมสะพานไม้ที่ทำไว้แล้ว ปากทางเข้าตลาดสามโคกระดับน้ำก็เพิ่มสูงท่วมถึงปากทางถนนปทุมฯ-สามโคก เจ้าหน้าที่ทำสะพานไม้เป็นทางเดินเข้า-ออก ทำธุร กรรมที่สถานีตำรวจตรวจคนเข้าเมือง สถานีอนามัยและตลาดสามโคก ให้ประชาชนได้เดินทางกันได้อย่างสะดวก ส่วนชาวบ้านในตลาดสามโคกต้องเผชิญชะตากรรมกับระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น จนต้องปิดกิจการกันทั้งตลาด บรรดาพ่อค้าแม่ค้าเริ่มขาดรายได้เพราะไม่มีลูกค้าเดินทางมาซื้อสินค้าภายในตลาดดังกล่าวแล้ว

"สิงห์บุรี"อ่วม-พนังพัง

ที่จ.สิงห์บุรี ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังคงท่วมขังหลายพื้นที่ ปริมาณการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 3,354 ลบ.ม./วินาที ทำให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นวงกว้าง อาทิ ที่ อ.อินทร์บุรี จากการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น โดยช่วงเช้าน้ำได้กัดเซาะคอสะพานประตูระบายน้ำบางโฉมศรี หมู่ 9 ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี พังลงมา รวมทั้งสะพานข้ามระหว่าง ต.ท่างาม หมู่ 9 และ ต.ชีน้ำร้าย หมู่ 3 ถูกตัดขาด เป็นทางยาวกว่า 15 เมตร ทำให้น้ำจำนวนมหาศาลไหลทะลักไปตามคลองเชียงราก และน้ำบางส่วนไหลไปตามคลองชลประทาน ลงไปยัง ต.ทองเอน ต.โพธิ์ชัย และไปยัง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ซึ่งมีบ้านเรือนและทุ่งนาที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวอีกจำนวนมาก ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่กำลังเร่งนำเสาเข็มมาตอกเป็นการป้องกัน แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะน้ำแรงมาก นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผวจ. สิงห์บุรี ได้ประชาสัมพันธ์เตือนให้ชาวบ้านที่อพยพมาอาศัยอยู่บนถนนคลองชลประทานให้ เร่งอพยพหนีออกจากริมคลองห่างจากประตูระบายน้ำบางโฉมศรี 60 เมตร เพื่อป้องกันอันตรายจากการทรุดพังของถนน
เที่ยวเมืองไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน

ออฟไลน์ Tommy

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,577
  • คะแนน: +3/-1
  • รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย
    • ทัวร์ออนไทยดอทคอม
Re: รวมสถานการณ์น้ำท่วมจากข่าวสด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 06:53:46 PM »

พระราชทานถุงยังชีพพันชุด

เวลา 09.00 น. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นผู้แทนพระ องค์ นำชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทยพระราช ทาน พร้อมน้ำดื่ม 1,000 ชุด มามอบให้แก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในพื้นที่ ต.ท่างาม หมู่ 1-9 อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี และมอบเรือท้องแบน 2 ลำให้บริการแก่ประชา ชน 1 ลำ และให้ร.พ.อินทร์บุรี 1 ลำ เพื่อใช้รับ-ส่งผู้ป่วยของร.พ.อินทร์บุรี โดยนายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผวจ.นางปิยพัชร์ ไพบูลย์ศิริ นายก เหล่ากาชาดจังหวัดสิงห์บุรีเป็นผู้รับมอบ ณ บริเวณ อบต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

สุพรรณฯเส้นทางขาด

ที่จ.สุพรรณบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เส้นทางนพเก้าไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี ถนนสายสมภารคง เส้นทางวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดแค วัดสารภี วัดพระลอย วัดหน่อพุทธางกูร วัดพระนอน วัดพิหารแดง วัดชีสุขเกษม และวัดสว่างอารมณ์ มีน้ำท่วมขังจากแม่น้ำท่าจีนล้นตลิ่ง โดยเฉพาะบริเวณวัดที่ตั้งอยู่ริมน้ำทั้งหมด มีน้ำสูงกว่า 1 เมตร การจราจรบางช่วงรถไม่สามารถสัญจรได้ เนื่องจากมีการปิดเส้นทางทำแนวคันกั้นน้ำ และปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนยังสูงขึ้นเรื่อยๆ แผ่วงกว้างขึ้นอีก จนทำให้แนวคันกั้นน้ำเสียหายเป็นบางจุด ชาวบ้านและพระในวัดเดือดร้อนหนัก หลังเส้นทางสัญจรถูกตัดขาด ทำให้เส้นทางทัวร์ไหว้พระ 9 วัด ที่ทาง ททท. สุพรรณบุรี จัดขึ้น การคมนาคมไม่สะดวก บางจุดรถเล็กวิ่งผ่านไม่ได้ ส่วนที่ อ.เดิมบางนาง บวช อ.สามชุก อ.ศรีประจันต์ อ.บางปลาม้า อ.เมือง อ.สองพี่น้อง ชาวนาเร่งเก็บเกี่ยวข้าวในนาทั้งวันทั้งคืนเพื่อหนีน้ำท่วม หลังชลประทานเร่งปล่อยน้ำลงในทุ่งวันที่ 15 ก.ย.

กทม.สั่งรับมือ 24 ช.ม.

ที่ศาลาว่าการกทม. นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่กทม. ว่า สำหรับระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขณะนี้อยู่ที่ 1.97 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนปริมาณน้ำวัดจากเขื่อนพระราม 6 และแม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณ 3,927 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ขณะที่ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งวัดได้ที่ประตูระบายน้ำบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ที่ 3,266 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งก็อยู่ในระดับที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด คาดว่าน้ำจะขึ้นสูงสุดในเวลา 19.59 น. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ดังนั้น กทม.จึงได้มีมาตรการในการพร่องน้ำในคลองต่างๆ และแก้มลิงทั้ง 21 แห่ง ในพื้นที่กรุงเทพฯ ไว้เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ในพื้นที่และเปิดเดินเครื่องเครื่องสูบน้ำตลอดเวลาในบางจุด โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำสถานีสูบน้ำอยู่ประจำตลอด 24 ช.ม. ตลอดจนตรียมวัสดุอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่จากหน่วยเบสท์กว่า 700 นาย ให้มีความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาขณะนี้ยังไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

จับจระเข้พัทยาได้ 29 ตัว

ส่วนกรณีจระเข้เลี้ยงในอุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยาหลุดออกมาช่วงน้ำท่วม นายสุทาวุฒน์ เต็มทับ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อุทยานฯ กล่าวว่า ขณะนี้สามารถจับจระเข้ได้จำนวน 29 ตัว ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ จะยังคงกระจายกำลังออกเฝ้าติดตามจับจระเข้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงทราบ หากพบจระเข้ให้รีบแจ้งทางเจ้าหน้าที่ทราบทันที และย้ำเตือนว่า อย่าได้เข้าไปจับจระเข้ด้วยตัวเองอย่างเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายได้ ซึ่งทางฟาร์มประกาศให้รางวัลผู้ที่ให้เบาะแสและนำจับตัวละ 5,000 บาท
เที่ยวเมืองไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน

ออฟไลน์ Tommy

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,577
  • คะแนน: +3/-1
  • รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย
    • ทัวร์ออนไทยดอทคอม
Re: รวมสถานการณ์น้ำท่วมจากข่าวสด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 06:54:08 PM »

สธ.ประชุมเตรียมพร้อม

เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ร่วมประชุมรับทราบนโยบายจากนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้มีการมอบนโยบายการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และแผนการเตรียมงานเพื่อให้สามารถเข้าให้การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอุทกภัยได้อย่างทันท่วงที ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ถ่ายทอดสัญญาณไปถึงจังหวัดต่างๆ ที่เกิดเหตุอุทกภัยและมีแนวโน้มว่ากำลังจะต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม เช่น จ.นครราชสีมา, ยโสธร, นนทบุรี, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, ราชบุรี และ จ.ระนอง เป็นต้น โดยการประชุมครั้งนี้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของสำนัก งานสาธารณสุขทุกจังหวัดให้มีการประสานงานร่วมกับทุกหน่วยงานของจังหวัดในการเฝ้าระวัง และรับแจ้งเหตุการณ์น้ำท่วมในทุกพื้นที่

โคราชป่วนเริ่มท่วมหลายที่

ที่จ.นครราชสีมา สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ได้ขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดฝนที่ตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันนานเกือบ 1 สัปดาห์ ส่งผลให้น้ำจาก 2 ตำบล คือ ต.โพธิ์กลาง และ ต.หนองบัวศาลาตอนบน ในเขตอำเภอเมือง จ.นครราชสีมา ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่หนองบัวศาลาตอนล่างเพิ่มขึ้นเป็น 3 หมู่บ้านแล้ว ประกอบด้วย หมู่บ้านหนองบัวศาลา หมู่ที่ 4 บ้านหนองตะลุมปุ๊กหมู่ที่ 10 และบ้านหนองตะลุมปุ๊กหมู่ที่ 2 บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วมสูงเฉลี่ยตั้งแต่ 30 ซ.ม. ไปจนถึง 80 ซ.ม.แล้วกว่า 200 หลังคาเรือน โดยเฉพาะที่หมู่บ้านหนองตะลุมปุ๊กหมู่ที่ 2 ต.หนองบัวศาลา ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำและมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะหลายจุด บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วมสูงกว่า 50 ซ.ม.รวมกว่า 20 หลังคาเรือน เส้นทางผ่านเข้าออกหมู่บ้านถูกน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร ชาวบ้านอีกกว่า 100 หลังคาเรือนถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ทางองค์ การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลา ต้องตัดสินใจขุดถนนภายในหมู่บ้านยาวกว่า 100 เมตร เพื่อใช้เป็นทางระบายน้ำลงสู่พื้นที่ด้านล่าง พร้อมกับน้ำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จำนวน 2 เครื่องมาเร่งสูบระบายน้ำที่ท่วมขังในหมู่บ้านออกมายังถนนที่ได้ขุดเป็นช่องทางระบายน้ำไว้ พร้อมกับนำกระสอบทรายแจกจ่ายให้กับชาวบ้านเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นไปแล้วกว่า 5,000 ใบ แต่ก็ไม่พอเพียงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

"โคราช"ตุนอาหารสัตว์ 25 ตัน

โดยที่ จ.นครราชสีมา นายรังสรรค์ ระวังสำโรง ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา สั่งการให้ทางสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทั้ง 32 อำเภอ ประ สานงานไปยังทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกพื้นที่ เพื่อจัดเตรียมขอรับการสนับสนุนรถ ยนต์เพื่อที่จะใช้ลำเลียงหญ้าแห้งเพื่อใช้เป็นอาหารโค กระบือ ในยามที่เกิดเหตุอุทกภัยรุนแรง ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการจัดเตรียมหญ้าแห้งที่ไว้ใช้เป็นอาหารสัตว์จำนวน 25 ตัน ไว้ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนทันทีที่ได้รับการร้องขอ นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมวัคซีนป้องกันโรคระบาดต่างๆ เพื่อเตรียมที่จะออกแจกจ่ายให้กับเกษตรกรทันทีที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเช่นเดียวกัน


ซับน้ำตา - นางกิมไล้ รัศมีแก้ว อายุ 74 ปี ชาวสามชุก จ.สุพรรณบุรี นำเงิน 1 หมื่นบาทมอบให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 ก.ย.
เที่ยวเมืองไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน

ออฟไลน์ Tommy

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,577
  • คะแนน: +3/-1
  • รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย
    • ทัวร์ออนไทยดอทคอม
Re: รวมสถานการณ์น้ำท่วมจากข่าวสด
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 06:54:31 PM »

น้ำเขาใหญ่ไหลลงอ่างต่อเนื่อง

ส่วนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันนั้นอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ปริมาณน้ำล่าสุดอยู่ที่ 239.560 ล้าน ลบ.ม. จากความจุกักเก็บทั้งสิ้น 324.39 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 73.85% ของความจุ, อ่างเก็บน้ำลำมูลบน อ.ครบุรี ปริมาณน้ำอยู่ที่ 111.560 ล้าน ลบ.ม. จากความจุ 141.00 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 79.12%, อ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี ปริมาณน้ำอยู่ที่ 233.840 ล้าน ลบ.ม. จากความจุทั้งสิ้น 250.00 ล้านลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ปริมาณน้ำอยู่ที่ 94.32 ล้าน ลบ.ม. จากความจุทั้งสิ้น 109.63 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 86% ซึ่งในส่วนของอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย นั้น ถือเป็นจุดที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมมากที่สุดในช่วงนี้ เนื่องจากทางสำนักชลประทานที่ 8 นครราช สีมา รายงานว่ายังคงมีปริมาณน้ำจากเขาภูหลวง ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง

แม่เฒ่า 74 มอบเงินช่วย

เวลา 12.00 น. ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นางกิมไล้ รัศมีแก้ว คุณยายวัย 74 ปี ชาวบ้านย่านบางแค เดินทางมาดักพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อมอบเงินเก็บส่วนตัวจำนวน 1 หมื่นบาท นำไปสมทบช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย โดยนายกฯ ได้รับมอบเงินจากยายกิมไล้ด้วยตัวเอง และกล่าวขอบคุณด้วยน้ำตาคลอเบ้าอย่างตื้นตันใจ ว่า ขอบคุณในน้ำใจของคนไทยด้วยกัน จะเอาเงินจำนวนนี้ไปรวมยอดบริจาคในคืนนี้ ที่รัฐ บาลจะจัดงาน "รวมพลังไทย ช่วยภัยน้ำท่วม" ขณะที่คุณยายกิมไล้ได้จับมือน.ส.ยิ่งลักษณ์ด้วยน้ำตาคลอเบ้าเช่นกัน พร้อมบอกว่า "ขอให้นายกฯ อยู่นานๆ ยายได้แผ่เมตตาให้ และได้แผ่เมตตาไปถึงพ.ต.ท.ทักษิณด้วย"

ทบ.ระดมกำลังช่วยเหลือ

เวลา 08.10 น. ที่กองการบินกรมการขนส่งทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์ถึงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่า เราได้ติดตามสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยกองทัพบกจะบูรณาการในภาพรวมของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทั้ง 4 กองทัพภาค ที่ผ่านมาที่รับสถานการณ์หนักสุดคือ กองทัพภาคที่ 2, 3 และกองทัพภาคที่ 4 ปัจจุบันเริ่มเข้ามาในพื้นที่ของกองทัพภาคที่ 1 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้สั่งการผ่านพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ให้กองทัพบกเข้าไปเพิ่มเติมเรื่องความช่วยเหลือให้มากขึ้น ซึ่งเราได้ดำเนินการสนองคำสั่งดังกล่าว โดยประสานงานร่วมกับกรมบรรเทาสาธารณภัยฝ่ายพลเรือน จะมีการบูรณาการในเรื่องคนและเครื่องมือที่มีอยู่ของทหารช่าง เพื่อแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ที่มีปัญหาไม่เหมือนกัน เริ่มจากการป้องกัน การช่วยเหลือฟื้นฟู เท่าที่รับรายงานทั้งหมดมี 48 จังหวัด โดยมี 27 จังหวัดคลี่คลายแล้วอยู่ในการฟื้นฟู แต่อีก 21 จังหวัดยังมีน้ำท่วมอยู่

เยียวยาภาคกลาง-เหนือ

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ขณะนี้ระดับน้ำที่ลงมาในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งเป็นน้ำท้ายเขื่อนประมาณวันละ 3,300 ลบ.ซ.ม. ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนด และก็ท่วม จ.ปทุมธานี จ.นนทบุรี โดยเฉพาะ จังหวัดปริมณฑลรอบ กทม. ตนจึงสั่งการให้หน่วยที่รับผิดชอบได้ลงพื้นที่ไปช่วยเหลือ โดยให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพ ได้หารือ กทม.เพื่อกำหนดพื้นที่รับผิดชอบ ในพื้นที่ 50 เขตว่าหน่วยใดจะไปดูแล ส่วนภาคเหนือที่ประสบปัญหาหนักคือ จ.แพร่ และอุตรดิตถ์ ตนได้สั่งการให้พล.ท.วรรณทิพย์ ว่องไว แม่ทัพภาคที่ 3 เร่งเข้าดำเนินการ โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำป่าใน จ.อุตรดิตถ์ และช่วยเหลือ ค้นหาผู้สูญหาย รวมถึงการฟื้นฟูซ่อมถนนต่างๆ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี จ.อุบลราช ธานี ซึ่งตนได้พูดคุยกับพล.ท.ธวัชชัย สมุทร สาคร แม่ทัพภาคที่ 2 ให้ไปดำเนินการ ซึ่งทุกกองทัพภาคทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน

รัฐบาลเตรียมแผนรับมือ

ที่รัฐสภา นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐ มนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงแนวทางการดูแลรับมือแก้ไขปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมในขณะนี้ ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เตรียมแนวทางรับมือแล้ว โดยใช้แผน 2 พี 2 อาร์ มีการเตรียมการให้การช่วยเหลือและเยียวยาแก้ไขปัญหาในระยะยาว ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาใหม่อะไร แต่ปีนี้ปัญหาน้ำท่วมรุนแรงมาก จึงจำเป็นต้องทำงานแบบบูรณาการ เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก

เมื่อถามว่า ประชาชนที่ได้รับเงินช่วยเหลือไม่ทั่วถึงรัฐบาลจะเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร นายยงยุทธกล่าวว่า ตัวอย่างจากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัญหาเกิดขึ้นมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว แต่คณะรัฐมนตรีชุดนี้เพิ่งได้รับอนุมัติเงินช่วยเหลือประชาชนซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเก่าก็ตาม แต่เรื่องใหม่ก็ต้องเร่งรัด ส่วนเรื่องบางระกำโมเดลนั้นยังมีอยู่เพียงแต่ว่าความเดือดร้อนของประชาชนนั้นลดลงแล้ว ที่เงียบไม่ได้หมายความว่าประชาชนเดือดร้อนและไม่ได้เข้าช่วย แต่ขณะนี้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว

สั่งจับตาทุกพื้นที่ 24 ช.ม.

เมื่อถามว่า จะเตรียมรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในภาคกลางอย่างไร นายยงยุทธกล่าวว่า ได้มีการพูดคุยกับผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ถึงการวาง แผนการป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมกทม. โดยจะมีการปรับแผนแก้ไขอีกหรือไม่ต้องดูสถานการณ์ไปก่อน แต่ตอนนี้มีแผนรับมือแล้ว อาทิ แผนฉุกเฉิน แผนสำรอง

เมื่อถามว่า ข้อหนักใจของกระทรวงมหาด ไทยที่จะมีการแจ้งเตือนไปยังประชาชนอย่างไร นายยงยุทธกล่าวว่า ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ควบคุมลำบาก แต่ก็ต้องติดตามปัญหาน้ำท่วมอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งเตือนให้กับประชาชนทราบล่วงหน้า เพื่อลดความสูญเสีย แต่เมื่อปัญหาเกิดขึ้นต้องช่วยเหลือกันต่อไป ทางรัฐบาลก็ได้เตรียมรับมือกับฝนที่จะตกลงมาในระลอกที่ 2 ด้วยการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานราชการทั้งหมด ทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร รัฐบาลยืนยันได้ว่าหน่วยงานราชการมีความพร้อมเต็มที่ และมั่นใจว่าจะทุ่มเททำงานช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
เที่ยวเมืองไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน

ออฟไลน์ Tommy

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,577
  • คะแนน: +3/-1
  • รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย
    • ทัวร์ออนไทยดอทคอม
Re: รวมสถานการณ์น้ำท่วมจากข่าวสด
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 06:54:54 PM »

แม่น้ำน้อยทะลักท่วมกรุงเก่า

ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา การระบายน้ำจากท้ายเขื่อนเจ้าพระยาด้วยความเร็ว 3,354 ลบ.ม. ต่อวินาที เขื่อนพระราม 6 อ.ท่าเรือ จ.พระนคร ศรีอยุธยา ระบายน้ำความเร็ว 572 ลบ.ม.ต่อ วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อยสูงขึ้นอีก โดยน้ำจากแม่น้ำน้อยที่รับน้ำจากแม่น้ำ เจ้าพระยาได้ไหลเข้าท่วมบริเวณวัดพระขาว อ.บางบาล โดยเฉพาะหน้าวัดระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร และหน้ามณฑปลายรดน้ำที่บรรจุศพไม่เน่าของหลวงปู่ทิม อดีตเจ้าอาวาสและพระเกจิชื่อดังชั้นล่างถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1.50 เมตร ทางวัดต้องทำสะพานไม้ จากพระอุโบสถ เชื่อมโยงไปศาลา กุฏิ และมณฑป ให้ประชาชนได้ไปสักการะและทำบุญ

ที่ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณถนนสายบางบาล-อยุธยา สายใน พบว่าตั้งแต่วัดพระขาว จนถึงตัว อ.บางบาล ระดับน้ำท่วมสูงมีบางช่วงระดับน้ำได้ไหลซึมผ่านคันดินกั้นน้ำจนไหลบ่าท่วมถนนหลายจุด จนชาวบ้านเกรงว่าคันดินจะพัง อยากให้ทางอำเภอได้เสริมคันดินให้แน่นหนา

ชาวบ้านเดือดร้อน-ไร้ส้วม

นางจันทร์ แสงบงกฎ อายุ 49 ปี ชาวบ้าน ม.1 ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว กล่าวว่า ต้องยืนแช่น้ำที่ท่วมสูงกว่า 1 เมตร ขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ริมถนนสายบางบาล-อยุธยา สายใน มานานเกือบ 1 เดือนแล้ว อยากจะเลิกขาย เพราะน้ำท่วมโต๊ะเก้าอี้ที่ให้ลูกค้านั่งรับประทานก๋วยเตี๋ยว น้ำท่วมจวนจะมิด ต้องนั่งเอาเท้าแช่น้ำ แต่ชาวบ้านขอให้ขาย หากหยุดจะไม่มีของกินเพราะอาหารการกินตามหมู่บ้านมีน้อย ภายในบ้านน้ำท่วมกว่า 2 เมตร ทุกวันนี้เรื่องที่เครียดมากคือเรื่องขับถ่าย ไม่มีส้วม ขอไปทางอำเภอเจ้าหน้าที่บอกว่าของมีน้อยต้องรอคิวก่อน

ส่วนที่บริเวณหน้า อบต.รางจรเข้ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา นางดวงพร พุ่มหิรัญ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ คณะกรรมการสมาคม พล.ร.ต.ชุมพล วงศ์เวคิน เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ นำถุงยังชีพมอบให้ผู้ประสบอุทกภัย ใน ต.รางจรเข้ 7 หมู่บ้าน จำนวน 550 ชุด

"บางบาล"ประตูน้ำแตก

ที่ประตูระบายน้ำคลองตานึ่ง ตั้งอยู่ที่ ม.4 ต.ทางช้าง อ.บางบาล ได้ถูกน้ำจากคลองบางหลวงที่ท่วมสูงเข้ากัดเซาะรากฐานของประตูระบายน้ำขาดเป็นช่องทางกว้างประมาณ 10 เมตร ลึกประมาณ 5 เมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยวลงสู่ทุ่งของอำเภอผักไห่ซึ่งมีพื้นที่ติดกันและเป็นพื้นที่รับน้ำของชลประทานที่ได้กำหนดไว้ ส่วนชลประทานพยายามจะนำเครื่องมือ รถแบ๊กโฮ เสาเข็ม กระสอบทราย เข้าปิดกั้นแต่เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องมาจากกระแสน้ำที่ไหลแรงและลึกเป็นวงกว้าง

"เชียงราย"ท่วมรอบ 4

ที่จ.เชียงราย ภายหลังจากเกิดฝนตกติดต่อกันเป็นวันที่สอง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำคำล้นตลิ่งและเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนพื้นที่หลายหมู่บ้านใน ต.แม่คำ และ ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน โดยที่หมู่บ้านม่วงหมูสี ม.11 และบ้านแม่คำฝั่งหมิ่น ม.9 ต.จันจว้าใต้ บ้านม่วงคำ ม.13 และบ้านสันธาตุ ม.9 ต.แม่คำ อ.แม่จัน น้ำเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนประมาณ 300 หลังคาเรือน ระดับน้ำลึกตั้งแต่ 30-50 ซ.ม. และบางจุดลึกกว่า 1 เมตร ทำให้ประชาชนต้องเดือดร้อนอย่างหนักเพราะถือเป็นสถานการณ์น้ำในแม่น้ำคำเข้าท่วมเป็นรอบที่สี่ในปีนี้แล้ว และเหตุน้ำท่วมทำให้โรงเรียนบ้านแม่คำฝั่งหมิ่นได้ประกาศปิดการเรียนการสอนชั่วคราว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังน้ำท่วมประชาชนที่ประสบเหตุต่างพากันนำข้าวของเครื่องใช้ไปไว้บนพื้นที่สูง และพื้นที่นาข้าวที่ชาวบ้านเพิ่งดำรอบใหม่ หลังจากต้นกล้าเดิมถูกน้ำท่วมขังนานเกิน 1 สัปดาห์ในเดือนส.ค.ที่ผ่านมาจนต้นข้าวตายรวมกันเป็นบริเวณกว้างได้ถูกน้ำท่วมขังอีกรอบ ทำให้เสี่ยงต่อการสูญเสียนาข้าวดังกล่าวอย่างมาก ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครองและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปให้การช่วยเหลือด้านอาหารและน้ำดื่มตลอดทั้งวัน ขณะที่น้ำได้เริ่มไหลเข้าเอ่อล้นริมตลิ่งพื้นที่ อ.เชียงแสน ซึ่งอยู่ถัดไปแล้ว

เที่ยวเมืองไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน

ออฟไลน์ Tommy

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,577
  • คะแนน: +3/-1
  • รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย
    • ทัวร์ออนไทยดอทคอม
Re: รวมสถานการณ์น้ำท่วมจากข่าวสด
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 06:55:47 PM »
น้ำชีท่วมสูง-"ร้อยเอ็ด"เริ่มจม

ที่จ.ร้อยเอ็ด ปริมาณน้ำชีท่วมบ้านโพธิ์ตาก หมู่ 6 ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ เดือดร้อนมากขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำชีสูงขึ้นวันละ 20 ซ.ม. บริเวณภายในวัดระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ประปาหมู่บ้านระดับน้ำ 1-2 เมตร บ้านเรือนราษฎรในหมู่บ้านจาก 40 หลังคาเรือนขยายท่วมมากขึ้นเป็น 70 หลังคาเรือนจาก 112 หลังคาเรือน ถนนในหมู่บ้านน้ำสูง 1-1.50 ม. ต้องใช้เรือพาย ที่หนักสุดคอถนนเข้า-ออกหมู่ บ้านที่น้ำท่วมสูง 50-100 ซ.ม. และไหลเชี่ยวเป็นระยะทางกว่า 1 ก.ม.

นายการุณลักษณ์ มณีเรือง ผู้ใหญ่บ้านโพธิ์ตาก หมู่ 6 กล่าวว่า ตอนนี้แค่เริ่มต้น เนื่องจากฝนยังตกหนักในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียง ประกอบกับเขื่อนจ.ชัยภูมิ จ.ขอนแก่น และ จ.กาฬสินธุ์ ระบายน้ำออกจากเขื่อนลงแม่น้ำชีไหลลงสู่จังหวัดร้อยเอ็ด ทำให้น้ำท่วมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะท่วมอีกนานนับเดือนเหมือนทุกปีและติดต่อเป็นปีที่ 11 แล้ว ปัจจุบันชาวบ้านเดือดร้อนเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม หญ้าสด อาหารสัตว์ และยารักษาโรค

ที่บ้านประตูชัย หมู่ 7 ต.นิเวศน์ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด น้ำยังเพิ่มระดับเนื่องจากฝนยังตก หนักในพื้นที่อ.เมืองร้อยเอ็ด และ อ.ธวัชบุรี ทั้งกลางวันกลางคืนติดต่อกันมานานกว่า 2 สัปดาห์ ประกอบกับเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้ระบายน้ำจำนวนมากออกจากตัวเมือง ทำให้เกิดน้ำท่วมถนนทางเข้าหมู่บ้าน ระดับน้ำสูงกว่า 50 ซ.ม. ระยะทางกว่า 300 เมตร และเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รถเล็กผ่านเข้า-ออกไม่สะดวก ที่ไม่มีรถก็เดินลุยน้ำ บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วมแล้ว 2 หลังคาเรือน ท่วมนาข้าวราษฎรที่กำลังสุกจมน้ำเสียหายสิ้นเชิงกว่า 400 ไร่

ตรังบ้านริมน้ำยังจมบาดาล


ศพสุดท้าย - ทางการอุตรดิตถ์จัดทีมเรือลุยฝ่าเศษซากความเสียหายในอ่างเก็บน้ำห้วยแมง อ.น้ำ ปาด กระทั่งค้นหาร่าง ด.ช.ยิ่งศักดิ์ อินดีสี เหยื่อน้ำป่า-ดินโคลนถล่มรายสุดท้ายจนพบ เมื่อ 14 ก.ย.



ที่จ.ตรัง จากกรณีที่ได้เกิดฝนตกหนักในช่วงหลายวันที่ผ่านมานั้นยังคงทำให้หลายพื้นที่ต้องประสบกับสภาวะน้ำท่วมขังต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 4 วันแล้ว อันเป็นผลมาจากน้ำป่าที่ไหลหลากลงมาจากเทือกเขาบรรทัด ทั้งฝั่งพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดตรัง กับจังหวัดพัทลุง และกับจังหวัดสตูล จนเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือน สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และนาข้าว อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดเริ่มที่จะคลี่คลายแล้ว เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ฝนจะหยุดตก ยังเหลือเฉพาะที่ราบลุ่มติดแม่น้ำลำคลองที่ยังมีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 50 ซ.ม.ถึง 1 เมตร แต่ยังสามารถสัญจรผ่านไปมาได้

นายโส เหมกุล ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2554 เป็นต้นมา มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว 4 อำเภอ 18 ตำบล 100 หมู่บ้าน 1 เทศบาล 5 ชุมชน ทำให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อน 3,480 ครัวเรือน หรือ 10,072 คน มีพื้นที่ทางการเกษตรโดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมันเสียหาย 4,308 ไร่ รุนแรงมากที่สุด คือ อำเภอปะเหลียน 9 ตำบล 61 หมู่บ้าน รองลงมา อำเภอย่านตาขาว 5 ตำบล 20 หมู่บ้าน 1 เทศบาล อำเภอเมืองตรัง 3 ตำบล 14 หมู่บ้าน และอำเภอห้วยยอด 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน พร้อมทั้งมีรายงานดินสไลด์ลงมาใส่บ้านหลังหนึ่งในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง แต่เสียหายแค่เล็กน้อย

อ่างทองอ่วม-จมหลายแห่ง

ที่จ.อ่างทอง กลางดึกที่ผ่านมา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ผุดทะลุใต้พื้นคอนกรีตบริเวณริมเขื่อนหมู่ที่ 3 ต.ชะไว อ.ไชโย จ.อ่างทอง กว้างกว่า 5 เมตร ไหลเข้าบ้านเรือนประชาชน ชาวบ้านตำบลชะไว กว่า 100 คน ต้องระดมกระ สอบทรายและเข้าปิดล้อมและอุดรอยผุดของน้ำกันอย่างโกลาหล ส่วนที่บริเวณสี่แยกไฟแดงป่าโมก อ.ป่าโมก น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนตอนนี้ได้ทะลักไหลเข้าท่วมบริเวณตีนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้า พระยาฝั่งตะวันออกไปจนถึงสี่แยกสัญญาณไฟ ทำให้ผิวจราจรเส้นทางหลวงหมายเลข 309 น้ำท่วมสูงบางจุดน้ำสูงกว่า 40 ซ.ม. ผิวการจราจรปิด 2 ช่องทาง นอกจากนั้นน้ำได้ไหลข้ามสี่แยกไฟแดงไหลลงบ้านเรือนประชาชน

เวลา 13.00 น. ที่บริเวณประตูน้ำบางแก้ว มีชาวบ้านรวมตัวกันประท้วงเรียกร้องให้เปิดประตูน้ำเขื่อนบางแก้ว ที่ได้รับความเดือดร้อนน้ำทะลักเข้าท่วมสูงที่ขณะนี้น้ำเพิ่มสูงถึง 2-3 เมตร จึงรวมตัวกันมาประท้วงขอให้ทางชลประ ทานช่วยเปิดประตูน้ำเขื่อนบางแก้วเพื่อจะระบายน้ำไปยังท้ายเขื่อน ที่มีระดับน้ำต่ำกว่าเหนือเขื่อนประมาณเกือบ 5 เมตร

ลพบุรีท่วมแล้ว 9 อำเภอ

ที่จ.ลพบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น้ำได้ท่วมแล้ว 9 อำเภอ ทางจังหวัดประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี โคกสำโรง อำเภอบ้านหมี่ หนองม่วง ท่าวุ้ง พัฒนานิคม สระโบสถ์ ลำสนธิ และอำเภอท่าหลวง มีผู้ประสบภัยทั้งสิ้น 20,142 ครัวเรือน 39,566 คน พื้นที่นา 78,265 ไร่ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ได้สั่งการให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเบื้องต้นและประสานหน่วยทหารในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อขอรับความช่วยเหลือด้านเครื่อง มือ เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และอุปกรณ์ ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเร่งด่วนแล้ว
เที่ยวเมืองไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน

ออฟไลน์ Tommy

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,577
  • คะแนน: +3/-1
  • รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย
    • ทัวร์ออนไทยดอทคอม
Re: รวมสถานการณ์น้ำท่วมจากข่าวสด
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 06:56:35 PM »

บางปะอินน้ำทะลักตลาด

ที่อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำสูงกว่า 50 ซ.ม. ทำให้ร้านค้าที่อยู่ในตลาดเก่ากว่า 200 ร้าน ต้องปิดร้านและเก็บข้าวของหนีน้ำ เพราะเชื่อว่าน้ำจะท่วมสูงกว่านี้แน่นอน

โดยนายมนตรี ยมนา นายกเทศบาลตำบลบ้านเลน ได้จัดให้ไปค้าขายช่วงน้ำท่วมที่สี่แยกบางปะอินหรือใกล้ตลาดเอกเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นตลาดเมืองใหม่ของอำเภอ และอยู่ห่างจากตลาดเก่าประมาณ 1 ก.ม. นอกจากนี้ทางเทศบาลได้จัดสร้างสะพานสูง 1 เมตรเศษ ทอดยาวไปตามตลาดเก่า เพื่ออำนวยความสะดวกแกประชาชนและพ่อค้าแม่ค้าในการเดินทางเข้าออกชุมชนและตัวตลาด

ส่วนที่ว่าการอำเภอบางปะอินเก่า สภ.บาง ปะอินเก่า หอประชุม ซึ่งยังใช้อยู่ถูกน้ำท่วมหมด นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดทำคันล้อมป้อง กันพระราชวังบางปะอินได้สำเร็จ และทำคันล้อมเสริมความสูงบนแนวถนนหน้าพระราชวัง เพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตชุมชนรอบโรงเรียนบางปะอินราชานุเคราะห์ 1 ชุมชนข้างพระราช วัง และชุมชนหลังที่ว่าการอำเภอเก่า

ทหารหมื่นนายพร้อมกู้ภัย

พันเอกพิเศษประวิทย์ หูแก้ว โฆษกกองทัพภาคที่ 2 กล่าวถึงการเตรียมความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ว่า ทางกองทัพภาคที่ 2 ได้จัดเตรียมกำลังพลกว่า 10,000 นาย รวมทั้งอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือ อาทิ เรือท้องแบน เรือยนต์ รถบรรทุก ไว้พร้อมแล้วเต็มพิกัด พร้อมที่จะออกปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยทุกพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยล่าสุดขณะนี้ได้ส่งกำลังพลทหารในสังกัดกว่า 2,000 นาย ออกให้ความช่วยเหลือในการอพยพประชา ชนและข้าวของออกจากพื้นที่ประสบอุทกภัยแล้วใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย จ.อุบลราช ธานี, สกลนคร และจังหวัดเลย โดยสถานการณ์ที่รุนแรงและน่าเป็นห่วงมากที่สุดอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งขณะนี้ทางกองทัพภาคที่ 2 ได้ส่งกำลังพลกว่า 1,000 นายพร้อมอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือเต็มพิกัดไปช่วยแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วนแล้ว

ชัยนาทเร่งซ่อมประตูระบายน้ำ

เวลาประมาณ 14.00 น. ที่เขื่อนเจ้าพระยา มีรถเครนขนาดใหญ่ไปเตรียมยกบานประตูเขื่อนเจ้าพระยา จากการสอบถามจากผู้เห็นเหตุการณ์ทราบว่า ลวดสะลิงประตูบานที่ 3 ด้านขวาขาด เนื่องจากมีผักตบ และกิ่งไม้ไปขัดบาน เมื่อยกบานขึ้น ขณะที่น้ำปริมาณมากและไหลแรง จึงทำให้สะลิงขาด เจ้าหน้าที่สำนักชลประทานที่ 12 ต้องเร่งซ่อม โดยใช้รถเครนขนาดใหญ่ยกบานให้ทั้งสองข้างเท่ากันจึงสามารถติดตั้งสะลิงได้ โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ ด้านการระบายน้ำ ต้องปิดการจราจรบนสันเขื่อนเจ้าพระยาหลายชั่วโมง จึงสามารถเปิดให้เดินทางได้ตามปกติ ข้อมูลล่าสุดเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำออกท้ายเขื่อน เมื่อเวลา 15.00 น. 3,410 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

เผยวิกฤต 7 อำเภอ

นายจำลอง โพธิ์สุข ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า จังหวัดชัยนาทมี 8 อำเภอ ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินน้ำท่วม 7 อำเภอ (สรรพยา, หันคา, เมือง, วัดสิงห์, มโนรมย์, หนองมะโมง, สรรคบุรี) มีที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 40,000 ไร่ จากพื้นที่การเกษตร 1.2 ล้านไร่ พื้นที่วิกฤตคือพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้า พระยาตอนเหนือ ตั้งแต่ อ.มโนรมย์ อ.วัดสิงห์ อ.เมือง ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา ส่วนอำเภอที่อยู่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา คือ อ.สรรพยา ปริ มาณน้ำที่ไหลผ่านมาจากจังหวัดนครสวรรค์ และยังมีน้ำฝนเติมเข้ามาอีกก็ทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่นครสวรรค์ไหลมาที่จังหวัดชัยนาทมีประมาณสูงมาก ระบบการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน คือพยายามผลักน้ำออกทางฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย

เตรียมอพยพคนหนีน้ำ

"หากหลังจากนี้มีปริมาณน้ำเพิ่มเขื่อนก็ต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้น อาจทำให้พื้นที่อพยพประชา ชนบนถนนสาย 311 ชัยนาท-สิงห์บุรี ซึ่งอาศัยมากว่า 2 สัปดาห์ ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำที่อาจทะลุแนวป้องกัน รวมทั้งพื้นที่การเกษตรที่เก็บเกี่ยวได้เพียงร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด จากพื้นที่ 9 แสนไร่ของนาทั้งจังหวัด หากน้ำล้นข้ามถนนสาย 311 จะทำให้น้ำบ่าเข้าไปท่วมทุ่งนา ซึ่งพื้นที่ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวจะได้รับความเสียหายแน่นอน ที่สำคัญเรื่องชีวิตทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนที่อาศัยบนถนนสาย 311 ต้องอพยพไปที่หมายต่อไปที่ปลอดภัย จังหวัดกำหนดไว้ที่เขื่อนเจ้าพระยา ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) และสาย 340 ช่วงสะพานใหม่ถึงตัวจังหวัด ไปจนถึงบริเวณพื้นที่สูงรอบเขาพลอง เขาท่าพระ

ส่วนอีกฝั่งหนึ่งยังมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่บนถนนสายคันคลองมหาราช ขณะนี้มีน้ำไหลข้ามถนนสายนี้ในบางจุด หากกั้นไม่อยู่น้ำอาจท่วมไปถึงสายเอเชีย จึงขอประกาศเตือนทุกพื้นที่ เตรียมอพยพไปอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ขอให้เชื่อฟังท้องถิ่น ท้องที่ นายอำเภอ โดยเจ้าหน้าที่จะอำนวยความสะดวกกับประชาชนผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่
เที่ยวเมืองไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน

ออฟไลน์ Tommy

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,577
  • คะแนน: +3/-1
  • รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย
    • ทัวร์ออนไทยดอทคอม
Re: รวมสถานการณ์น้ำท่วมจากข่าวสด
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 06:57:14 PM »

ปากน้ำโพวิกฤตท่วมสูง

ที่จ.นครสวรรค์ สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ยังคงน่าห่วง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ 55 ตำบล 420 หมู่บ้าน 23 ชุมชน ราษฎรได้รับผลกระทบ 43,425 ครัวเรือน 139,411 คน พื้นที่การเกษตร 543,354 ไร่ ได้แก่ อ.ชุมแสง รวม 11 ตำบล 8 ชุมชน 109 หมู่บ้าน เทศบาลทับกฤช น้ำจากแม่น้ำน่านมีระดับสูงขึ้นท่วมพื้นที่ 3 ชุมชน บ้านเรือนราษฎร 393 หลัง 1,179 คน เทศบาลเมืองชุมแสง น้ำจากแม่น้ำน่านมีระดับสูงขึ้นท่วมบ้านเรือนราษฎรสองริมฝั่งคลองจรเข้เผือก 5 ชุมชน 760 หลัง 2,660 คน

อ.เก้าเลี้ยวเสียหายหนัก

อ.เก้าเลี้ยว รวม 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ตำบลหนองเต่า น้ำจากคลองบางเคียนไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร หมู่ที่ 1-10 (10 หมู่บ้าน) 816 หลัง พื้นที่การเกษตร 29,287 ไร่(1,324 ครัวเรือน 3,631 คน), บ่อปลา 50 บ่อ, ถนนในหมู่บ้าน 39 สาย ท่อระบาย 3 แห่ง, สะพาน 1 แห่ง, ท่วมวัด 4 แห่ง(ห้วยรั้ว, กัลยารัตน์, โนนโพธิ์, ยางใหญ่) และท่วมโรงเรียนและปิดเรียน 3 แห่ง(บ้านยางใหญ่, บ้านห้วยรั้ว, วัดยางใหญ่ ตำบลมหาโพธิ น้ำตำบลหนองเต่าไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร หมู่ที่ 1 - 5 (รวม 5 หมู่บ้าน) 268 หลัง พื้นที่การเกษตร 5,766 ไร่(535 ครัวเรือน 1,610 คน), บ่อปลา 19 บ่อ และท่วมถนน 7 สาย ตำบลเก้าเลี้ยว น้ำจากตำบลหนองเต่าไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร 3,148 ไร่ หมู่ที่ 3 - 5 (รวม 3 หมู่บ้าน) ราษฎรได้รับผลกระทบ 41 ครัวเรือน 396 คน

กลางเมืองจมหลายพันหลัง

อ.เมืองนครสวรรค์ รวม 11 ตำบล 15 ชุม ชน 72 หมู่บ้าน เทศบาลนครนครสวรรค์ น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ 15 ชุมชน 1,860 หลัง 6,510 คน อ.โกรกพระ รวม 7 ตำบล 38 หมู่บ้าน อำเภอท่าตะโก รวม 9 ตำบล 67 หมู่บ้าน อำเภอพยุหะคีรี รวม 4 ตำบล 30 หมู่บ้าน อำเภอตาคลี น้ำจากคลองชัยนาท - ป่าสัก ล้นตลิ่งท่วมบ้านเรือนราษฎร หมู่ที่ 2 ต.สร้อยทอง 30 หลัง พื้นที่การเกษตร หมู่ที่ 5 รวม 5,000 ไร่(137 ครัวเรือน 755 คน) รวม 2 หมู่บ้าน อำเภอหนองบัว รวม 8 ตำบล 81 หมู่บ้าน

เตือนฝนถล่มอีก-น้ำเพิ่ม

อนึ่ง กรมชลประทานได้มีประกาศแจ้งเตือนกรณีน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เนื่องจากในช่วงวันที่ 10-11 ก.ย. ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกหนักบริเวณท้ายเขื่อนภูมิพล ส่งผลให้ระดับน้ำและปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงและแม่น้ำสาขามีปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยคาดว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ จะอยู่ในเกณฑ์สูงสุดประมาณ 3,800 - 3,900 ลบ.ม./ วินาที ในช่วงวันที่ 18-19 ก.ย. ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นอีกประมาณ 1 เมตร

เตรียมเผาศพเหยื่อน้ำ"อุตรดิตถ์"

ที่จ.อุตรดิตถ์ นายโยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มพื้นที่ ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และสูญหายอีกจำนวน 2 ราย ว่า สำหรับศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวประกอบด้วย นางพริก อินดีสี นายประสิทธิ์ อินดีสี นายขาล คำไวย์ นางปัน คำไวย์ และน.ส.กัญญานี ซ้อนพิมพ์ ทั้งหมดเป็นราษฎรหมู่ 3 บ้านต้นขาม ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยรุนแรง ศพทั้งหมดถูกนำมาตั้งบำเพ็ญกุศลที่ศาลาการ เปรียญวัดชัยชนะพล หมู่ 7 บ้านหัวนา ต.แสนตอ อ.น้ำปาด และจะมีพิธีฌาปนกิจศพในวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน เวลา 14.00 น. ณ ป่าช้าบ้านใหม่ หมู่ที่ 2 ต.บ้านฝาย
เที่ยวเมืองไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน