ผู้เขียน หัวข้อ: สถานการณ์น้ำท่วม 19 ตุลาคม  (อ่าน 1458 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,661
  • คะแนน: +1/-0
สถานการณ์น้ำท่วม 19 ตุลาคม
« เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 11:29:24 AM »
    สถานการณ์น้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังทรงตัว ยืนยัน ยังคงให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเต็มที่
    นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานแก้ไขปัญหาผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวถึงสถานการณ์อุทกภัยล่าสุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า ขณะนี้ระดับหยุดนิ่งแล้ว เจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังเข้าไปดูแลผู้ประสบอุทกภัยที่อพยพไปอยู่ตามศูนย์พักพิงต่างๆ ทั้งด้านสาธารณสุข ที่อยู่อาศัย และอาหาร ส่วนทรัพย์สินตามบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมขัง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สลับสับเปลี่ยนเข้าไปดูแลให้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังพูดคุยกับผู้ประกอบการโรงงานที่ถูกน้ำท่วมเพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงาน ซึ่งผู้ประกอบการยืนยันว่า จะจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานจนกว่าสถานการณ์น้ำจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
    ส่วนสถาการณ์น้ำที่ไหลเข้าท่วมอำเภอวังน้อย ได้จัดเตรียมที่พักพิงให้ผู้ประสบภัยที่ไม่ต้องการอพยพไปยังศูนย์พักพิงที่จัดเตรียมไว้ ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ได้เร่งลำเลียงซากไก่นับล้านตัวออกจากอำเภอบางประอินโดยเร็วที่สุด โดยจะใช้สารจุรินทรีย์ ไม่ให้น้ำเน่าเสียซ้ำเติมผู้ประสบอุทกภัย ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่ใช้ความอดทนอีกระยะหนึ่ง ซึ่งมั่นใจว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเร็ววันนี้



สมุทรสงครามนำปลาทูเค็ม พริก มะนาว น้ำปลา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดชัยนาท
 
    ที่หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม นายประภาศ บุญยินดี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตำรวจโท อาทิตย์ บุญญะโสภัต รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ และหัวหน้าส่วนราชการทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรต่างๆ ได้ร่วมกันปล่อยขบวนรถบรรทุกคาราวานเงินสิ่งของกว่า 1 ล้านบาท จากการได้รับบริจาค ในการช่วยเหลือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดชัยนาท
    นายประภาศ บุญยินดี ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ กล่าวว่า หลังจากที่ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคกลางหลายจังหวัด ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตทรัพย์สินของประชาชน เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิต บ้านเรือน วัดวาอารามโบราณสถาน สถานที่ราชการ สถานที่ประกอบกิจการและในพื้นที่ทางการเกษตร รวมทั้งสิ่งสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง สถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือในการบรรเทาความเดือดร้อน และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในวันนี้ได้ปล่อยขบวนคาราวานรถบรรทุกสิ่งของ รวมทั้งปลาทูเค็ม พริก มะนาว น้ำปลา โดยมีคาราวานขบวนรถบรรทุก จำนวน 9 คันรถ เพื่อนำสิ่งของเครื่องใช้ ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดชัยนาทที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำ

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,661
  • คะแนน: +1/-0
Re: สถานการณ์น้ำท่วม 19 ตุลาคม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 11:30:19 AM »
มหาสารคามเตือนระวังโรคเลปโตสไปโรซีสในภาวะน้ำท่วม

    สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส น่าเป็นห่วงในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม พบผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคเยี่ยวหนูเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีน้ำท่วมขัง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา หาปลา เกี่ยวหญ้า ล่าสุดพบผู้ป่วยแล้วจำนวน 52 ราย มีผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย
    นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า ปัจจุบัน พี่น้องเกษตรกรรมในจังหวัดมหาสารคามส่วนใหญ่ประสบภัยน้ำท่วม มีการหาปลา เกี่ยวหญ้า ทำนา และลุยน้ำขัง เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสที่ถูกต้อง ประชาชนจะต้องไม่ลุยน้ำขณะมีบาดแผลที่บริเวณฝ่าเท้า มีการสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผล และสวมเสื้อผ้าให้รัดกุมป้องกันการเกิดบาดแผล
    ปัจจุบันมีผู้ป่วยเลปโตสไปโรซีสจำนวน 52 ราย มีผู้เสียชีวิตจำนวน 1 ราย อัตราป่วย 5.44 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วย 3 ลำดับ คือ 1.อ.พยัคฆภูมิจำนวน 20 ราย อ.บรบือจำนวน 12 ราย และ อ.นาเชือกจำนวน 3 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในวัยทำงาน ประชาชนจะต้องป้องกันตนเองด้วยการสวมรองเท้าบูท สวมใส่เสื้อผ้าให้รัดกุม เมื่อขึ้นจากน้ำจะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าอาบน้ำทันที มีภูมิปัญญาชาวบ้านแนะนำให้นำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะกรูด และมะขามเปียก ทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสน้ำ โดยเฉพาะง่ามมือ ง่ามเท้า จะเป็นการลดความรุนแรงของเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีส เพราะเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีสจะอยู่ในภาวะเป็นด่าง เมื่อถูกกรดจะทำให้เชื้ออ่อนตัวลงได้ อาการเริ่มแรกเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ผู้ป่วยครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดกล้ามเนื้อบริเวณขา บริเวณน่อง ปวดศรีษะ อย่างรุนแรง และมีไข้สูง หนาวสั่น หากมีอาการดังกล่าวประชาชนไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องจะได้ปลอดภัยจากโรคเลปโตสไปโรซีส
    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคามฝากเตือนพี่น้องเกษตรกรจะต้องป้องกันตนเองด้วยการไม่ลงแช่น้ำนาน หรือมีบาดแผลไม่ควรลงน้ำขังโดยเด็ดขาด จัดบ้านเรือนให้สะอาด เรียบร้อย เป็นระเบียบ ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค มีอาการสงสัยอย่าซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด จะต้องรีบพบแพทย์เพื่อลดความรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรซีส

ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว (ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม)

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,661
  • คะแนน: +1/-0
Re: สถานการณ์น้ำท่วม 19 ตุลาคม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 11:37:23 AM »
จ.ชัยนาท น้ำท่วมบ้านอาศัยกินนอนในเรือขาดรายได้พึ่งถุงยังชีพ

 ที่หมู่ 5 ต.ตลุก อ.สรรพยา ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่ามีสองแม่ลูกอาศัยนอนในเรือ ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะที่ผู้สื่อข่าวเข้าไปลูกชายออกไปหาปลา ส่วนแม่นั่งรออยู่ในเรือ ซึ่งอาศัยเพิงของเพื่อนบ้านเป็นร่มเงา
    นางลัดดา จันทร วัย 64 ปี (ยายเบี้ยว) อยู่บ้านเลขที่ 89/1 หมู่ 5 ต.ตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ให้สัมภาษณ์ว่า น้ำได้เข้าท่วมบ้านเมื่อกลางเดือนที่แล้ว บ้านที่อยู่เป็นบ้านชั้นเดียว น้ำท่วมพื้นบ้านจนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ จึงนำเรือซึ่งเคยใช้หาปลาขนข้าวของที่พอจะหยิบติดมือมาได้ใส่เรือไว้ แล้วไปอาศัยเพิงของเพื่อนบ้านอาศัยอยู่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยาในหมู่บ้าน คนละลำกับลูกชาย โชคดีที่ยังมีไฟฟ้าใช้หุงข้าว ส่วนกับข้าวก็ได้จากของที่แจก เวลานอนก็กางมุ้งโดยมุ้งแขวนกับเพิง น้ำก็อาบน้ำไหลข้างเรือ เวลาถ่ายหนัก ถ่ายเบาก็ลงน้ำเช่นเดียวกัน ผ้าถุงเปียกทั้งวัน เหตุที่ไม่ออกไปอยู่บนถนนสายคันคลองมหาราชเหมือนครอบครัวอื่น เพราะเรือที่มีเป็นเรือลำใหญ่พายเข้าออกลำบาก อีกอย่างเป็นห่วงบ้านด้วย จึงต้องอาศัยอยู่ตรงนี้

จังหวัดชัยนาทมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอมโนรมย์

 
    ที่บริเวณศาลาการเปรียญวัดอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท นายจำลอง โพธิ์สุข ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท พร้อมด้วย นางพัชรา โพธิ์สุข นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชัยนาท และคณะ ได้เดินทางไปมอบถุงยังชีพแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ จำนวน 189 ชุด เพื่อบำรุงขวัญ กำลังใจ และช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย อำเภอมโนรมย์ ประสบอุทกภัย จำนวน 7 ตำบล 30 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,600 ครัวเรือน 12,472 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ประมาณ 24,000 ไร่ ในส่วนของพื้นที่ตำบลอู่ตะเภา ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 4 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 209 ครัวเรือน 620 คน พื้นที่การเกษตรเสียหายประมาณ 5,000 ไร่
    ในด้านการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร อำเภอมโนรมย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ได้จัดทำที่พักชั่วคราว การแจกถุงยังชีพ เครื่องอุปโภค-บริโภค จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปแจกจ่ายยารักษาโรคและดูแลสุขภาพของประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในเบื้องต้นแล้ว
    นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มอบเงินจำนวน 100,000 บาท มหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่ มอบเงินจำนวน 10,000 บาท ให้กับเหล่ากาชาดจังหวัดชัยนาท เพื่อสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดชัยนาทอีกด้วย

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,661
  • คะแนน: +1/-0
Re: สถานการณ์น้ำท่วม 19 ตุลาคม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 11:40:21 AM »
จ.นครราชสีมาน้ำท่วมแล้ว 13 อำเภอ พื้นที่เกษตรเสียหายกว่า 6 หมื่นไร่

จังหวัดนครราชสีมาสรุปถูกน้ำท่วมแล้ว 13 อำเภอ พื้นที่เกษตรเสียหายกว่า 6 หมื่นไร่ อ.พิมาย-ชุมพวง-เมืองยาง
    ศูนย์เตือนภัยพิบัติจังหวัดนครราชสีมา (ศตภ.จว.นม.) สรุปสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ล่าสุดจนถึงขณะนี้มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมแล้วทั้งหมด 13 อำเภอ 47 ตำบล 179 หมู่บ้าน 578 หลังคาเรือน พื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย 61,842 ไร่ ถนนถูกน้ำท่วม 129 สาย โรงเรียนถูกน้ำท่วม 1 แห่ง และวัดอีก 2 แห่ง แบ่งเป็น อ.โนนสูง, อ.หนองบุญมาก, อ.ชุมพวง, อ.โนนไทย, อ.จักราช, อ.ครบุรี, อ.บัวใหญ่, อ.เมืองนครราชสีมา, อ.พิมาย,อ.แก้งสนามนาง, อ.เมืองยาง อ.ห้วยแถลง และ อ.เฉลิมพระเกียรติ
    สำหรับพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมสูงและเป็นบริเวณกว้าง ได้แก่ อ.พิมาย น้ำท่วมแล้ว 11 ตำบล 39 หมู่บ้าน 303 หลังคาเรือน พื้นที่เกษตรเสียหาย 10,528 ไร่ ถนน 46 สาย ต้องการเรือท้องแบน, รองลงมาคือ อ.ชุมพวง น้ำท่วมแล้ว 7 ตำบล 51 หมู่บ้าน 64 หลังคาเรือน พื้นที่เกษตรเสียหาย 12,862 ไร่ ถนน 24 สาย โรงเรียน 1 แห่ง และวัด 2 แห่ง และ อ.เมืองยาง น้ำท่วม 4 ตำบล 14 หมู่บ้าน 16 หลังคาเรือน ถนนถูกน้ำท่วม 5 สาย พื้นที่เกษตรเสียหาย 23,511 ไร่ ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในเขตพื้นที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ยังขยายวงกว้างต่อเนื่องและเพิ่มระดับสูงขึ้น โดยระดับน้ำที่ท่วม สภ.พิมาย และสถานที่ราชการต่างๆ สูงประมาณ 50 ซม.

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,661
  • คะแนน: +1/-0
Re: สถานการณ์น้ำท่วม 19 ตุลาคม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 11:44:22 AM »
ฉะเชิงเทรา มอบเรือ 50 ลำ และสุขาชั่วคราว 5,000 ชุด ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม 7 อำเภอ

    วันนี้ (18 ตุลาคม 2554) ที่ศาลาประชาคมเฉลิมพระเกียรติจังหวัดฉะเชิงเทรา นายกิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ,นายพันธุ์ชัย วัฒนชัย ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ,นายประชา เตรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย , ดร.จิณาภา ทรัพย์วิสุทธิ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกันมอบเรือเหล็กท้องแบนและสุขาชั่วคราวให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอคลองเขื่อน อำเภอบางคล้า อำเภอเมือง อำเภอราชสาสน์ อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอพนมสารคาม รวมเรือ 50 ลำ สุขาชั่วคราว 5,000 ชุด ซึ่งนายกิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้กล่าวถึงสถานการณ์ของน้ำในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราว่าขณะนี้ อำเภอที่มีพื้นที่ประสบกับภาวะน้ำท่วมหนักอยู่ในช่วงนี้ รวม 6 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอคลองเขื่อน อำเภอพนมสารคาม และอำเภอบ้านโพธิ์ และจากการประชุมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่หลายจังหวัดของภาคกลาง นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ฝากขออภัยกับพี่น้องประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการผันน้ำที่ท่วมขังอยู่ในพื้นที่ภาคกลางบางส่วน มาทางฝั่งตะวันออก เพื่อระบายออกลงสู่ทางแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเป็นหนึ่งของทางระบายน้ำสายหลัก คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง อาจจะทำให้ประชาชนบางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทราที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้ทางน้ำได้รับผลกระทบและความเดือดร้อน โดยทางราชการจะได้ดูแลให้การช่วยเหลือต่อไป
    ด้านนายประชา เตรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวกับหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ และประชาชนที่มารับมอบเรือและสุขาชั่วคราว ว่า ขณะนี้ ปริมาณน้ำที่ท่วมอยู่ในพื้นที่ภาคกลางมีอยู่ประมาณ 7,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จำเป็นที่จะต้องเร่งระบายออก ซึ่งการระบายออกมาทางฝั่งตะวันออกเป็นวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาให้น้ำระบายออกทะเลทางแม่น้ำบางปะกง ขอให้หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนถึงความจำเป็นของการแก้ไขปัญหาด้วย อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรามีการเก็บเกี่ยวข้าวไปแล้วถึง 80 % ส่วนที่เหลืออยู่อาจจะเสียหายบ้าง ซึ่งก็ต้องช่วยเหลือชดเชยให้ต่อไป
    จากนั้น นายพันธุ์ชัย วัฒนชัย ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี นายประชา เตรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมประชุมกับนายกิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามปัญหาอุทกภัย การดำเนินงานการป้องกันและการแก้ไขปัญหา ซึ่งสาเหตุของน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ การมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการผันน้ำจากภาคกลางเข้ามาทางคลองระพีพัฒน์ต่อเนื่องคลอง 13 – 21 และคลองแสนแสบ ต่อเนื่องถึงคลองพระองค์ไชยานุชิต เพื่อระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทยบริเวณประตูระบายน้ำโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร และลงในคลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรีรมย์ ลงสู่แม่น้ำบางปะกง รวมถึงน้ำจากแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรี คลองท่าลาดที่ไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกงออกสู่ทะเลด้วย
    หลังจากการประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยคณะตรวจราชการ และผู้บริหารของจังหวัดฉะเชิงเทราที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางไปตรวจดูการดำเนินงานการสูบน้ำเพื่อลดระดับน้ำใน ลำคลองลงสู่แม่น้ำบางปะกงที่ประตูน้ำท่าไข่ อำเภอเมือง จากนั้นได้เดินทางไปตรวจดูการเตรียมการป้องกันอุทกภัยของนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อำเภอบางปะกง ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งเดียวที่อยู่ปลายแม่น้ำบางปะกง พร้อมขอให้ ทุกฝ่ายได้เตรียมพร้อมในการการป้องกันน้ำที่จะเข้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทราในช่วงสัปดาห์นี้ด้วย

สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์