×

วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร
วัดปากน้ำ ตั้งอยู่ ณ ที่ราบลุ่มบางกอกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ริมคลองหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ก่อนที่จะมีการขุดคลองลัดหน้าวัดอรุณราชวรารามและ กลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน

เนื่องจากวัดตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่านที่แยกไปจากคลองบางหลวงอีกทีหนึ่ง ชื่อของวัดจึงถูกเรียกขานตามตำบลที่ตั้งว่า วัดปากน้ำ ซึ่งชื่อนี้มีปรากฏเรียกใช้ในจดหมายเหตุโบราณหลายฉบับ แต่ได้พบชื่อของวัดที่แปลกออกไปในแผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๕๓ และ พ.ศ. ๒๔๗๔ ว่า วัดสมุทธาราม แต่ไม่เป็นที่นิยมเรียกขานกันอย่างนั้น คงเรียกว่า วัดปากน้ำ มาโดยตลอด ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีการขุดคลองภาษีเจริญที่ ข้างวัดด้านทิศตะวันตก วัดจึงมีลำน้ำหลักล้อมอยู่ทั้ง ๓ ด้าน ส่วนด้านใต้เป็นคลองเล็กแสดงอาณาเขตของวัดในสมัยก่อน

วัดปากน้ำ เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ( ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๑-๒๑๗๒) สถาปนาโดยพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏพระนามแน่ชัด เป็นวัดประจำหัวเมืองธนบุรี ปรากฏในตำนานเรื่องวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง สถาปนาว่าเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา อันหมายถึงพระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสีทรงสถาปนาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น หลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานภายในวัดมีอายุย้อนไปถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้พบร่องรอยคลองเล็กด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของวัด ที่โบราณขุดไว้เป็นแนวเขตที่ดินของวัดหลวงสมัยอยุธยา ที่ตั้งของวัดปากน้ำจึงมีลักษณะเป็นเกาะรูปสี่เหลี่ยมมีน้ำล้อมอยู่ทุกด้าน สถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุที่อยู่คู่วัดมาเช่น หอพระไตรปิฏก ตู้พระไตรปิฎกทรงบุษบก ล้วนเป็นฝีมือช่างหลวงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และตัวพระอุโบสถก็ใช้เทคนิคการก่อสร้างในสมัยนั้น ได้ค้นพบนามเจ้าอาวาส ๑ รูป ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) คือ พระครูธนะราชมุนี วัดปากน้ำ ได้มีบทบาทสำคัญมาแต่โบราณเพราะได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงที่อยู่นอกกรุง ศรีอยุธยา เป็นวัดสำคัญประจำหัวเมืองหน้าด่านทางทะเล

ในจดหมายเหตุสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคถวายผ้าพระกฐินหลวง ณ วัดปากน้ำ ตลอดรัชกาลวัดปากน้ำได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด คือ ได้รับพระราชทานพระราชทรัพย์จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในการซ่อมหลังคา พระอุโบสถคราวหนึ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และให้คงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทางวัดได้รับพระบรมราชานุญาตให้พระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำพร้อมทั้งอุบาสกและอุบาสิกาบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เกือบทั้งอารามโดยให้อนุรักษ์ศิลปะเดิมไว้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์นำพระกฐินหลวงมาถวายตลอดรัชกาล

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ วัดปากน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมลง ไม่มีเจ้าอาวาสประจำพระอาราม มีแต่ผู้รักษาการที่อยู่ในอารามอื่น ทางเจ้าคณะปกครองได้ส่ง พระสมุห์สด จนฺทสโร จาก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งท่านได้กวดขันพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญได้มีการสอนสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมตั้งสำนักเรียนทั้งนักธรรมและบาลี สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ทำให้พระภิกษุสามเณร และสาธุชนเข้ามาขอศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก วัดจึงเจริญขึ้นมาโดยลำดับ กลายเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรม และเป็นศูนย์กลางการศึกษาบาลี ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์มาโดยลำดับ สมณศักดิ์สุดท้ายในพระราชทินนามที่ พระมงคลเทพมุนี แต่ผู้คนทั่วไปรู้จัก และเอ่ยขานนามท่านว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ

ในสมัยสมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณณสิริ) ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส วัดปากน้ำได้รับการปรับปรุงทัศนียภาพและบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญ เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ช่างได้เปลี่ยนสถาปัตยกรรมเครื่องบนเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์เกือบทั้ง อาราม แต่ตัวรากฐานและอาคารยังคงเป็นของโบราณแต่เดิมมา

ถึงสมัยเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ( ช่วง วรปุญโญ ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำรูปปัจจุบัน วัดปากน้ำได้พัฒนาอย่างมากในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระภิกษุสามเณรสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคในนามวัดปากน้ำเป็นจำนวนมาก และการปฏิบัติภาวนาตามแนวหลวงพ่อวัดปากน้ำก็ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มี สถานที่ปฏิบัติ คือ หอเจริญวิปัสสนาเป็นเอกเทศ มีผู้เข้าปฏิบัติเป็นจำนวนมากทุกวัน และได้มีการสร้างพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ ปรับปรุงทัศนียภาพในหลายๆ ด้าน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของวัดปากน้ำ

วัดปากน้ำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๐๐ ถนนรัชมงคลประสาธน์ (เดิมเลขที่ ๘ ถนนเทอดไท) แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๖๐
มีเนื้อที่ ๒๐ ไร่เศษ โดยมีอาณาเขตดังนี้
- ทิศเหนือ จรดคลองบางกอกใหญ่
- ทิศตะวันออก จรดคลองด่าน
- ทิศใต้ จรดคลองโบราณขนาดเล็กที่แบ่งเขตกับวัดอัปสรสวรรค์
- ทิศตะวันตก ด้านเหนือจรดคลองภาษีเจริญและทางสาธารณะ
- ทิศตะวันตก ด้านใต้ติดกับโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ และโรงเรียนสุภาคมศึกษา

ที่มาข้อมูล เว็บไซต์วัดปากน้ำ http://www.watpaknam.org/ เรียบเรียงใหม่โดยทัวร์ออนไทยดอทคอม


พิกัด GPS วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ:
13.722130,100.470322
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 3975 ครั้ง
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

แผนที่ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญคลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)